ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์ต้องบอกวิธีให้คอมพิวเตอร์ได้รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาใช้ในการติดต่อซึงกันและกัน เช่นเดียวกันที่มนุษย์ ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุกต์ประกอบด้วย
ภาษาเครื่อง(Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสผ่าแทนคำสั่งในการทำงานคอมพิวเตอร์ข้อมูลคำสั่งตัวเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้
เราเรียนเลขสองหลักฐานสองที่ประกอลกันเป็นชุดคำสั่งเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปอื่นที่เป็นตัวอักษร
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอกเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมเพื่อการติดต่อคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอกเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครืองอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปรภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assemberlr) เพื่อแปลงชุดภาษาแอกเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statementh ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้เขียโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่ไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปรภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่2ชนิดด้วยกันคือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
คอมไพเลอร์ จะทำการแปรโปรแกรมที่เขียนเป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง ทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปรที่ละคำสั่งและคอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเส็จแล้วจึงมาทำการแปรคำสั่งลำดับต่อไปข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พลีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปรที่ละคำสั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น